Hornet และ Planned Parenthood: ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความยินยอม

Hornet และ Planned Parenthood: ไขความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความยินยอม

Be first to like this.

This post is also available in: English Español 繁體中文

เพื่อสับสนุนให้เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับความยินยอมในชุมชนเพศทางเลือก Hornet ได้ร่วมมือกับ Planned Parenthood ในเดือนเมษายน เดือนของการตระหนักถึงการคุกคามทางเพศ ซึ่งเป้าหมายของเราคือการให้ความรู้และทรัพยากรที่จะช่วยฝึกฝนการสนทนาในด้านความยินยอมในสถานการณ์ทางเพศต่างๆ

ในช่วงก่อนหน้าของซีรีย์ 4 ตอน เราได้พูดถึง”ความยินยอมคืออะไร และทำไมมันจึงสำคัญ” และความคิดที่ว่า “ใช่แล้ว การถามความยินยอมคือเรื่องเซ็กซี่จริงๆ” และในตอนที่ 3 นี้ เราอยากจะมาไขข้อข้องใจในความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความยินยอมกัน

ความยินยอมเป็นเรื่องไม่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม

“ความยินยอมในคำนิยามนั้นไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศ” Julia Bennett ผู้อำนวยการแผนการเรียนรู้ที่ Planned Parenthood ประจำประเทศสหรัฐอเมริกา “มันคือเรื่องของการยืนยันให้มั่นใจว่าทุกคนที่เกี่ยวข้องในประสบการณ์ทางเพศนั้นมีความเข้าใจและมีความสนใจในสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น และการทำให้แน่ใจว่าทุกคนมีช่วงเวลาที่ดี”

ความยินยอมสามารถเปลี่ยนแปลงได้

“ทุกคนสามารถเปลี่ยนใจในสิ่งที่กำลังทำอยู่ได้ตลอดเวลา” Bennett กล่าว “ฉะนั้นแม้ว่าคุณจะเคยทำมาก่อน หรือคุณทั้งสองอยู่บนเตียงด้วยกันแล้ว ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไรก็ตาม คุณก็สามารถเปลี่ยนใจได้เสมอ”

การยินยอมไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องอึดอัดและทำลายบรรยากาศ

“หลายคนมีความกังวลว่าหากถามถึงความยินยอมแล้วจะทำให้เกิดความอึดอัด ทำลายบรรยากาศ หรือเป็นเรื่องยุ่งยาก”  Bennett พูด “มันเป็นเรื่องที่หลายคนนึกภาพไม่ออกว่าการถามความยินยอมนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งจริงๆแล้วกุญแจสำคัญในการถามถึงความยินยอมคือการทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งในสิ่งที่กำลังทำอยู่ การยินยอมนั้นเป็นเรื่องที่เซ็กซี่ได้เหมือนกัน”

ความยินยอมไม่ได้แสดงออกได้ทางคำพูดเท่านั้น

หากคุณให้ความสนใจในภาษากายของคู่ของคุณ มันสามารถบ่งบอกอะไรได้มาก

ภาษากายที่แสดงออกถึงการยินยอมนั้นจะแตกต่างกันไปตามคู่ของคุณ เขาโน้มตัวเข้าหาคุณหรือว่าทำท่าเหมือนจะผลักออกไป เขามีส่วนร่วมในสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่หรือไม่ หรือเขาแค่นั่งเฉยๆ เหล่านี้คือสัญญาณที่มองเห็นได้ง่าย แต่กุญแจสำคัญก็คือการให้ความสนใจในสัญญาณทางกายจากคู่ของคุณ

บางครั้งคำว่า’ได้’หรือ’โอเค’อาจจะไม่ได้หมายถึงความเต็มใจก็ได้

“แม้ว่าบางครั้งคุณจะได้ยินคำว่า’ได้’หรือ’โอเค’อาจจะไม่ได้หมายถึงความเต็มใจก็ได้แล้วแต่สถานการณ์” Bennett กล่าว “จริงๆอาจจะมีความรู้สึกบังคับหรืออะไรบางอย่างที่ทำให้ใครสักคนไม่กล้าที่จะปฏิเสธก็ได้”

ซึ่งเพิ่มความสำคัญของการให้ความสนใจกับภาษากายขึ้นไปอีก

ความยินยอมในการมีเซ็กส์ไม่จำเป็นว่าจะเป็นการยินยอมในการลองอะไรใหม่ๆด้วย

เพียงแค่คู่ของคุณยินยอมที่จะมีเพศสัมพันธ์โดยวิธีหนึ่ง เช่นการร่วมรักด้วยปาก ไม่ได้หมายความว่าเขาจะยินยอมที่จะมีเซ็กส์โดยวิธีอื่น เช่นการมีเพศสัมพันธ์โดยมีการสอดใส่ มันอาจจะฟังดูยุ่งยาก แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เลย

“ในกิจกรรมทางเพศ มันอาจจะมีหลายอย่างที่เกิดขึ้นได้ และคุณต้องยืนยันความยินยอมในทุกๆอย่าง” Bennett พูด “ซึ่งวิธีการถามความยินยอมนั้นก็มีหลายแบบ อาจจะเป็นแค่การถามว่าสนใจหรือไม่ และไม่จำเป็นต้องเป็นการสนทนาที่ยาวนานอย่างจะใส่เสื้อผ้าแบบนี้ได้ไหมหรือผมควรจะเอามือผมไว้ตรงไหน  การถามนั้นอาจจะทำแบบเนียนๆก็ได้ และมันควรจะเป็นส่วนหนึ่งกับกิจกรรมที่ทำอยู่ได้อย่างเป็นธรรมชาติ”

ความปลอดภัยทางเพศและการยินยอมมีความเกี่ยวข้องกัน

“หลายคนไม่ได้นึกถึงเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยว่าเป็นส่วนหนึ่งของความยินยอม” Bennett กล่าว “การยินยอมมีเซ็กส์โดยใช้ถุงยางกับการยินยอมมีเซ็กส์โดยไม่ใช้เป็นเรื่องที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และการแสดงออกให้ชัดเจนคือสิ่งสำคัญ”

หากคนหนึ่งต้องการให้คู่ของเขาใช้ถุงยางในการร่วมเพศ แต่เขาไม่อยากใช้ นั่นหมายถึงการยินยอมที่ไม่สมบูรณ์ “การแสดงออกให้ชัดถึงความต้องการเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยและการทำตามคำพูดของตัวเองเพื่อให้มั่นใจว่าทั้งสองคนเห็นด้วยคือส่วนสำคัญที่สุดในเรื่องของการยินยอม”

นี่คือตอนที่ 3 ของซีรีย์ 4 ตอนผ่านความร่วมมือกับ Planned Parenthood สำหรับเดือนเมษายน เดือนของการตระหนักถึงการคุกคามทางเพศ

Related Stories

Elska แชร์เรื่องราวของผู้ชายแห่ง Bern ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
'Jonathan Agassi Saved My Life' คือสารคดีที่ช่วยชีวิตดาราหนังโป๊ชาวอิสราเอลในเรื่อง
เกิดอะไรขึ้นบ้างกับร่างกายของเราหลังจากเลิกกับคนรัก
ฉลองครบ 5 ปีร้าน Tom of Finland Store ผ่านภาพนายแบบสุดล่ำอย่าง Terry Miller
Quantcast