วันคริสต์มาสนี้ มาฟังเรื่องราวของ George Michael คอมมิวนิสท์คนหนึ่งที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของคนงานในเหมือง

วันคริสต์มาสนี้ มาฟังเรื่องราวของ George Michael คอมมิวนิสท์คนหนึ่งที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของคนงานในเหมือง

Be first to like this.

This post is also available in: English Русский Українська

George Michael เสียชีวิตมาแล้วเกือบสามปี และเราทุกคนคิดถึงเขาอย่างแน่นอน — แต่ว่ามีเรื่องราวดีๆมากมายที่ผุดขึ้นหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว อย่างเช่นการที่เขาเป็นคนปิดทองหลังพระคนหนึ่ง และตอนนี้เราก็เริ่มจะรู้เกี่ยวกับความคิดทางการเมืองของเขามากขึ้น — เพราะนอกจากเขาจะแสดงคอนเสิร์ตสนับสนุนเรื่องดีๆหลายครั้ง เขายังเคยเป็นสมาชิกกลุ่มคอมมิวนิสท์รุ่นเยาว์อีกด้วย

ไม่นานนักหลังจากการเสียชีวิตของเขา Rob Griffiths เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสท์แห่งสหราชอาณาจักรได้ออกมาบอกว่า Michael เคยเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มภายใต้ชื่อจริงของเขา Georgios Kyriacos Panayiotou

เรื่องราวอื่นๆเกี่ยวกับจุดยืนทางการเมืองของ George Michael

เรื่องราวการเคลื่อนไหวทางการเมืองของ George Michael ที่โด่งดังที่สุดก็คือการเล่นคอนเสิร์ตฟรีๆให้กับองค์การบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ซึ่งเป็นองค์การที่ดูแลด้านสุขภาพสังคมของสหราชอาณาจักร ตอนที่แม่ของเขาเสียชีวิตไปในปี 1997 ด้วยโรคมะเร็ง เขายังคงจำพยาบาลที่คอยดูแลแม่ของเขาได้อยู่เสมอ — และเขาตัดสินใจจัดงานคอนเสิร์ตขอบคุณเธอในปี 2006

และแน่นอนว่าความเชื่อทางการเมืองของเขาก็สะท้อนออกมาในดนตรีของเขาเช่นกัน เขาทำการร้องเพลงต่อต้านสงครามของ Don McLean ชื่อ “The Grave” เพื่อประท้วงสงครามอิรักในปี 2003 (ด้านล่าง) ซึ่ง McLean บอกว่าเขารู้สึก”ภูมิใจที่ George Michael ยืนหยัดเคียงข้ามชีวิตและความถูกต้อง” เขาเสริมต่อ “ผมมีความสุขที่ได้เห็นเขาใช้เพลงของผมแสดงความรู้สึกเหล่านั้นออกมา”

และไม่เพียงแค่นั้น เพราะเพลงในปี 2002 ของเขาชื่อ “Shoot the Dog” มีเนื้อหาที่พูดถึงนายกรัฐมนตรีในตอนนั้นอย่าง Tony Blair และประธานาธิบดีสหรัฐ George W. Bush โดยเขาบอกว่า Blair “นั้นมีความยะโส” มากกว่า Margaret Thatcher ที่กล้าทำการสนับสนุนสงครามอิรัก แม้ว่าจะมีหลายฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย

George Michael กับการประท้วงของคนงานในเหมือง

อย่างที่ Griffiths mentioned ได้เล่าว่า George Michael — ซึ่งตอนนั้นเขาอยู่ในวง Wham! — จัดงานคอนเสิร์ตเพื่อสนับสนุนการประท้วงของคนงานเหมืองในปี 1984 ถึงปี 1985 เรื่องราวที่เกิดขึ้นมีความเกี่ยวข้องกับเกย์พอสมควร ตอนที่นายกรัฐมนตรี Margaret Thatcher ประกาศว่าจะมีการปิดเหมืองหลายแห่ง ซึ่งจะทำให้คนงานเหมืองกว่า 20,000 คนตกงาน สหภาพคนงานเหมืองแห่งชาติจึงตัดสินใจทำการประท้วง

โดยคนงานเหมืองนั้นมีพันธมิตรที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ — อย่างเช่นกลุ่มเลสเบี้ยนและเกย์ที่สนับสนุนคนงานเหมือง (ชื่อย่อ LGSM) ที่ทำการจัดงานคอนเสิร์ตสนับสนุนการประท้วงอย่าง Pits and Perverts ซึ่งนำโดย Bronski Beat (หลังจากงานของ Wham! ราวสองเดือน)

การที่ชุมชน LGBTQ ทำการสนับสนุนกลุ่มคนงานเหมืองก่อให้เกิดพันธมิตรระหว่างชุมชนเพศทางเลือกและสหภาพแรงงาน และกลุ่มคนงานเหมืองก็ให้ความช่วยเหลือกลับเช่นกัน คนงานจำนวนมากเริ่มสนับสนุนขบวนพาเหรดไพรด์ และทำให้เกิดพรรคฝ่ายซ้ายในสหราชอาณาจักรอย่าง Labour Party ที่มีเป้าหมายสนับสนุนสิทธิของ LGBTQ ในปี 1985 และเมื่อมาตรา 28 ที่ห้ามการพูดคุยในเรื่องเกี่ยวกับเพศทางเลือกมีผลบังคับใช้ในปี 1988 กลุ่มคนงานเหมืองและกลุ่ม LGBTQ ก็ได้ร่วมมือกันเคลื่อนไหวต่อต้านมาตราดังกล่าว

แม้ว่ากลุ่มนี้จะประกาศ”สลายตัว”ในปี 2015 แต่พวกเขายังคงมีตัวคนอยู่ในทุกวันนี้ และภาพยนตร์ในปี 2014 ชื่อ Pride ก็มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลองชมตัวอย่างด้านล่าง:

ในวันคริสต์มาสนี้ มาจุดเทียนรำลึกถึง George Michael — และเราหวังว่าจะได้เห็นคนแบบเขาอีกในอนาคต

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2017

Quantcast