นักเขียนนวนิยายชาวจีนถูกตัดสินจำคุก 10 ปีหลังเขียนนิยายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย

นักเขียนนวนิยายชาวจีนถูกตัดสินจำคุก 10 ปีหลังเขียนนิยายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย

Be first to like this.

This post is also available in: English

เมื่อพูดถึงประเด็นเรื่องเพศทางเลือก ประเทศจีนเป็นประเทศหนึ่งที่น่าจะสร้างความสับสนได้ไม่น้อย ความคลั่งไคล้ตึกสูงระฟ้าทรงเจ้าโลก แต่อย่าแม้แต่ที่จะคิดเล่นเกม The Sims 4 ในแบบเพศทางเลือก! นอกจากนั้นคุณยังต้องไม่ใช้คำว่า”คู่หู” (เพราะเกย์ในจีนใช้กันมากจนเกินไป) และห้ามโบกธงสีรุ้งในงานคอนเสิร์ต ห้ามเขียนนิยายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเพศทางเลือก และคุณยังต้องระวังการใช้แอพที่บริษัทในจีนเป็นเจ้าของอีกด้วย

อย่างเช่น Weibo หรือ Facebook ของจีนที่มีการแบนเนื้อหาเกี่ยวกับเพศทางเลือกทุกชนิด — โดยมองว่าเป็นเนื้อหาลามกอนาจาร — ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่กลับต้องเผชิญกับการประท้วงและความไม่พอใจของประชาชนให้หลัง

ประวัติการแบนเนื้อหา LGBTQ ในประเทศจีนนั้นไม่ได้ดูดีตั้งแต่ไหนแต่ไร เราจึงไม่ได้รู้สึกตกใจมากนักเมื่อได้เห็นพาดหัวข่าวเกี่ยวกับการสั่งตัดสินจำคุกนักเขียนนิยายนาน 10 ปีเพราะผลงานของเธอเมื่อปี 2017 ชื่อ Occupy ที่มีเนื้อหาการร่วมรักระหว่างเพศเดียวกัน

หนังสือพิมพ์รอบเช้าของจีนชื่อ The South China Morning Post รายงานว่า Tianyi (นามปากกาของผู้เขียนนิยาย) ถูกตัดสินจำคุกในข้อหา”ผลิตและจำหน่ายเนื้อหาทางเพศ” โดยสื่อทางเพศนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศจีน และประชาชนจำนวนมากได้แสดงความไม่พอใจบนโลกออนไลน์ โดยชี้ว่าอาชญากรข่มขืนหรือฆาตกรยังไม่ถูกตัดสินลงโทษหนักเท่ากับเธอ

กลุ่ม LGBT ในจีนออกมาประท้วง Weibo หลังจากการแบน”เนื้อหาเกี่ยวกับเพศทางเลือก”

มีรายงานจากสถานีโทรทัศน์ของจีนช่องหนึ่งว่า’นิยายเซ็กส์เกย์’ดังกล่าวมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักต้องห้ามระหว่างครูและนักเรียน โดยในนิยายมีเนื้อหา”ฉากร่วมรักระหว่างชายสองคน”และมีเนื้อหาที่รุนแรง

จากการตัดสินของศาลชั้นสูงของประเทศจีน การขายหนังที่มีเนื้อหาทางเพศมากกว่า 5,000 เล่มหรือทำรายได้สูงกว่า 10,000 หยวน (ราว 50,000 บาท) ถือว่าเป็น”เหตุการณ์ร้ายแรง”ซึ่งมีบทลงโทษ”จำคุกไม่น้อยกว่า 10 ปีหรือตลอดชีวิต” และ Tianyi ขายหนังสือดังกล่าวไปกว่า 7,000 เล่มและทำรายได้ไปกว่า 750,000 บาท

กลุ่มผู้สนับสนุนนักเขียนและ’นิยายเซ็กส์เกย์’ดังกล่าวได้ออกมาพูดว่าการตีความของศาลชั้นสูงนั้นไม่เหมาะสม เพราะเป็นข้อบังคับที่ถูกเขียนไว้ก่อนที่ประเทศจีนจะมีอินเตอร์เน็ตด้วยซ้ำ

“ผลกระทบทางสังคมของหนังสือที่มีเนื้อหาทางเพศอาจไม่ได้ร้ายแรงอย่างที่สมาชิกสภานิติบัญญัติคิด โดยเฉพาะในปัจจุบันที่เนื้อหาทางเพศมีอยู่ทั่วทุกหนแห่ง” อดีตอัยการชาวจีนคนหนึ่งบอกกับ SCMP

คุณมีความเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการตัดสินนักเขียนกับ’นิยายเซ็กส์เกย์’ของเธอในครั้งนี้?

ภาพจาก AP Photo/Color China Photo

Quantcast